วันอังคาร, ธันวาคม ๒๕, ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ประเทศไทยใช้งาน

ดาวเทียม Landsat

Landsat เป็นชื่อของชุดดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่ขึ้นสู่วงโคจร และทำการบันทึกข้อมูลพื้นผิวโลกมาเกือบ 3 ทศวรรต (ดาวเทียมดวงแรกของโครงการถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 1972 และต่อมาดาวเทียมถูกเรียกว่า Landsat ในปี 1975) โดยในระยะแรกโครงการอยู่ภายใต้การจัดการขององค์การ NOAA ของสหรัฐ แล้วถ่ายมาให้อยู่ภายใต้การจัดการของ Earth Observing Satellite Company (EOSAT) ในปี 1984 และต่อมารัฐบาลสหรัฐได้กำหนดให้เป็นพันธกิจของรัฐบาลในการที่จะมีการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียมอย่างต่อเนื่อง และได้กำหนดพันธกิจนี้ไว้ในกฏหมายชื่อ The 1992 Land Remote Sensing Policy Act และให้การจัดการดาวเทียม Landsat กลับมาอยู่ภายใต้ USGS และ NASA ในโครงการ U.S. Global Change Research Program (ถ่ายโอนคืนจากการจัดการในเชิงพาณิชย์ มาอยู่ภายใต้การจัดการของหน่วยงานของรัฐบาลกลาง)
ปัจจุบันดาวเทียม Landsat ที่ทำงานอยู่คือ Landsat 5 และ Landsat 7 (เกิดข้อผิดพลาดกับ Landsat 6 โดยศูนย์ควบคุมไม่สามารถติดต่อกับดาวเทียมได้ในระหว่างการปรับดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร ได้มีการหาสาเหตุของปัญหา และกำหนดมาตรการป้องกัน จากนั้นได้เร่งดำเนินการสร้าง และส่ง Landsat 7 ขึ้นสู่วงโคจรในเดือนเมษายน 1999 )
ภาระกิจของ Landsat คือการสำรวจข้อมูล และเผยแพร่เพื่อการใช้ประโยชน์ของพลเรือน โดยได้มีการพัฒนาอุปกรณ์สำรวจบนดาวเทียมอย่างต่อเนื่อง ในช่วงแรกของโครงการ ดาวเทียม Landsat 1, 2 และ 3 ติดตั้งเครื่องมือสำรวจที่เรียกว่า MSS (Multi-Spectral Scanner) ดาวเทียมรุ่นต่อมา (Landsat 4 และ 5) ติดตั้งเครื่องมือสำรวจที่เรียกว่า TM (Thematic Mapper) และดาวเทียม Landsat 7 ติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า ETM (Enhanced Thematic Mapper)


ดาวเทียม GMS-5

ดาวเทียม GMS-5 (Geostationary Meteorological Satellite 5) ใช้ระบบ VISSR (Visible and Infrared Spin Scan Radiometer) เพื่อใช้ตรวจ สอบพื้นผิวโลก ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น คือ 0.55 - 1.05 ไมโครเมตร มีรายละเอียดของภาพ 1.25 กม. ช่วงคลื่นอินฟราเรด 10.5 - 12.5 ไมโครเมตร และช่วงคลื่น 6.2 - 7.6 ไมโครเมตร มีรายละเอียดของภาพ 5 กม. มีระบบ Weathersensor 200 ที่รับข้อมูลโดยตรงจากดาวเทียม GMS-5 ซึ่งโคจรที่ระดับความสูง 35,800 กม. ในวงโคจรค้างฟ้า เหนือเส้นศูนย์สูตร ณ ตำแหน่งลองจิจูด 140 องศาตะวันออก ระบบนี้สามารถแสดงอุณหภูมิ และความหนาแน่นของเมฆหมอกด้วยการใช้ระดับสี ดาวเทียม GMS-5 สำรวจครอบคลุมบริเวณย่านมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และทางเอเชีย โดยเหตุที่สภาพภูมิอากาศในย่านมหาสมุทร และเอเชียมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ งานด้านการบิน (Aviation) การศึกษา (Education) และการป้องกันภัยพิบัติ (Disaster prevention) ข้อมูลที่ได้รับสามารถนำมาใช้สำหรับงานวิจัยและการสาธิตต่าง ๆ ระบบ Weathersensor 200 ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการรับข้อมูลของสภาพภูมิอากาศ ล่าสุด ณ เวลา และบริเวณที่ต้องการ

ดาวเทียม NOAA

ดาวเทียม NOAA (National Oceanographic and Atmospheric Administration) โคจรที่ระดับความสูงประมาณ 850 กม. ในวงโคจรแบบ สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ทำการถ่ายภาพด้วยระบบ AVHRR (Advanced Very High Resolution Radiometer) ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น 2 ช่วงคลื่น และช่วงคลื่นความร้อน 2 ช่วงคลื่น ได้แก่ 0.55 - 0.90 ไมโครเมตร, 0.725 - 1.0 ไมโครเมตร, 10.5 - 11.5 ไมโครเมตร และ 3.55 - 3.93 ไมโครเมตร นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มช่วงคลื่นความร้อนช่วงที่ 3 เพื่อใช้ในการหาค่าอุณหภูมิพื้นผิว มีรายละเอียดของภาพ 1.1 กม. ในแนวดิ่ง ความกว้างของแนวภาพ 2,800 กม. บันทึกข้อมูลวันละ 2 ครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน นอกจากนี้มีระบบ TOVS (TIROS Operational Vertical Sounder) ใช้ในการคำนวณค่าอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศในแนวดิ่ง แยกได้เป็น 3 ระบบย่อย คือ 1. HIRS/2 ( High Resolution Infrared Radiometer ) 2. SSU ( Stratospheric Sounding Unit) 3. MSU ( Microwave Sounding Unit )


ดาวเทียมอินเทลแซต ( Intelsat )

ดาวเทียมอินเทลแซต ( Intelsat ) เป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่นไมโครเวฟ เพื่อการสื่อสารและการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งดำเนินการโดย องค์การดาวเทียมเพื่อการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( International Telecommunication Satellite Consortium ; Intelsat ) องค์การฯ ได้จัดส่งดาวเทียม ชื่อ อินเทลแสต ( Intelsat ) ขึ้นไปสถิตอยู่เหนือพื้นผิวโลกประมาณ 35,800 กิโลเมตร จำนวน 3 ดวง ดังนี้ 1. ดวงที่อยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ทำหน้าที่ติดต่อรับส่งสัญญาณระหว่างทวีปเอเชียกับสหรัฐอเมริกา 2. ดวงที่อยู่เหนือมหาสมุทรอินเดีย ทำหน้าที่ติดต่อรับส่งสัญญาณระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป 3. ดวงที่อยู่เหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ทำหน้าที่ติดต่อรับส่งสัญญาณระหว่างทวีปยุโรปกับสหรัฐอเมริกา สำหรับ ประเทศไทย เป็นสมาชิกขององค์การอินเทลแสต ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา โดยมีสถานีภาคพื้นดินอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศสหภาพโซเวียตรัสเซีย และประเทศบริการมีดาวเทียมสื่อสารชื่อ มอลนิยา ( Molniya )

ดาวเทียม SPOT

ดาวเทียม SPOT ของประเทศฝรั่งเศสดวงแรกถูกส่งขึ้นโคจรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2529และดวงที่สองเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งปัจจุบันกำลังปฏิบัติงานอยู่ ส่วนดวงที่สามส่งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2536 ระบบบันทึกภาพของดาวเทียม SPOT เป็นกล้อง HRV ( high resolution visible ) สองตัว ซึ่งสามารถปรับมุมมองให้ถ่ายภาพคู่สเตริโอและภาพเฉียงได้
วงโคจร
โคจรสูง 830 กิโลเมตร เอียง 98.7 องศาโคจรผ่านเส้นศูนย์สูตร เวลา 10:30 น.โคจรกลับมาที่เดิมในเวลา 26 วัน หรือ 4-5 วัน ถ้าถ่ายภาพในแนวเฉียง
เครื่องวัด
ระบบ HRV ไม่ใช่เครื่องวัดแบบกลเชิงแสง แต่เป็นกล้องถ่ายภาพซีซีดีเชิงเส้น ( linear CCD) ที่มีระบบกวาดภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ กล้อง HRV เปลี่ยนมุมมองสูงสุด บวก-ลบ 27 องศา โดยการเปลี่ยนมุมมองของกระจก ทำให้กล้องสามารถมงอมายังตำแหน่งเดียวกันได้จากสองวงโคจร แต่ละคู่มุมมองทำให้ได้ภาพคู่สเตริโอ
ข้อมูล
ภาพจากกล้อง HRV ในแนวดิ่งล่างครอบคลุมพื้นที่ 60 กิโลเมตร x 60 กิโลเมตร ในขณะที่ภาพเฉียงที่มุมมองสูงสุด บวก-ลบ 27 องศา ครอบคลุมพื้นที่ 81 กิโลเมตร x 81 กิโลเมตร ภาพแต่ละภาพจึงมีรหัสกำหนดด้วยหมายเลขแนว K และแถว J ตามระบบอ้างอิงกริดของ SPOT ( grid reference system – GRS ) ภาพที่มองในแนวดิ่งล่างจะมีจุดศูนย์กลางกำหนดด้วย K ที่เป็นเลขคี่สำหรับกล้อง HRV ตัวแรก ส่วนภาพถ่ายในแนวเฉียง จุดที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางที่สุดจะถือเป็นจุดศูนย็กลางภาพ
การใช้ประโยชน์ข้อมูล
ข้อมูลจากดาวเทียม SPOT รับได้ที่สถานีภาคพื้นดิน 14 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพื้นแผ่นดิน และการทำแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 และมาตราส่วนที่เล็กกว่า