วันอังคาร, ธันวาคม ๒๕, ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ประเทศไทยใช้งาน

ดาวเทียม Landsat

Landsat เป็นชื่อของชุดดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่ขึ้นสู่วงโคจร และทำการบันทึกข้อมูลพื้นผิวโลกมาเกือบ 3 ทศวรรต (ดาวเทียมดวงแรกของโครงการถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 1972 และต่อมาดาวเทียมถูกเรียกว่า Landsat ในปี 1975) โดยในระยะแรกโครงการอยู่ภายใต้การจัดการขององค์การ NOAA ของสหรัฐ แล้วถ่ายมาให้อยู่ภายใต้การจัดการของ Earth Observing Satellite Company (EOSAT) ในปี 1984 และต่อมารัฐบาลสหรัฐได้กำหนดให้เป็นพันธกิจของรัฐบาลในการที่จะมีการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียมอย่างต่อเนื่อง และได้กำหนดพันธกิจนี้ไว้ในกฏหมายชื่อ The 1992 Land Remote Sensing Policy Act และให้การจัดการดาวเทียม Landsat กลับมาอยู่ภายใต้ USGS และ NASA ในโครงการ U.S. Global Change Research Program (ถ่ายโอนคืนจากการจัดการในเชิงพาณิชย์ มาอยู่ภายใต้การจัดการของหน่วยงานของรัฐบาลกลาง)
ปัจจุบันดาวเทียม Landsat ที่ทำงานอยู่คือ Landsat 5 และ Landsat 7 (เกิดข้อผิดพลาดกับ Landsat 6 โดยศูนย์ควบคุมไม่สามารถติดต่อกับดาวเทียมได้ในระหว่างการปรับดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร ได้มีการหาสาเหตุของปัญหา และกำหนดมาตรการป้องกัน จากนั้นได้เร่งดำเนินการสร้าง และส่ง Landsat 7 ขึ้นสู่วงโคจรในเดือนเมษายน 1999 )
ภาระกิจของ Landsat คือการสำรวจข้อมูล และเผยแพร่เพื่อการใช้ประโยชน์ของพลเรือน โดยได้มีการพัฒนาอุปกรณ์สำรวจบนดาวเทียมอย่างต่อเนื่อง ในช่วงแรกของโครงการ ดาวเทียม Landsat 1, 2 และ 3 ติดตั้งเครื่องมือสำรวจที่เรียกว่า MSS (Multi-Spectral Scanner) ดาวเทียมรุ่นต่อมา (Landsat 4 และ 5) ติดตั้งเครื่องมือสำรวจที่เรียกว่า TM (Thematic Mapper) และดาวเทียม Landsat 7 ติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า ETM (Enhanced Thematic Mapper)


ดาวเทียม GMS-5

ดาวเทียม GMS-5 (Geostationary Meteorological Satellite 5) ใช้ระบบ VISSR (Visible and Infrared Spin Scan Radiometer) เพื่อใช้ตรวจ สอบพื้นผิวโลก ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น คือ 0.55 - 1.05 ไมโครเมตร มีรายละเอียดของภาพ 1.25 กม. ช่วงคลื่นอินฟราเรด 10.5 - 12.5 ไมโครเมตร และช่วงคลื่น 6.2 - 7.6 ไมโครเมตร มีรายละเอียดของภาพ 5 กม. มีระบบ Weathersensor 200 ที่รับข้อมูลโดยตรงจากดาวเทียม GMS-5 ซึ่งโคจรที่ระดับความสูง 35,800 กม. ในวงโคจรค้างฟ้า เหนือเส้นศูนย์สูตร ณ ตำแหน่งลองจิจูด 140 องศาตะวันออก ระบบนี้สามารถแสดงอุณหภูมิ และความหนาแน่นของเมฆหมอกด้วยการใช้ระดับสี ดาวเทียม GMS-5 สำรวจครอบคลุมบริเวณย่านมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และทางเอเชีย โดยเหตุที่สภาพภูมิอากาศในย่านมหาสมุทร และเอเชียมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ งานด้านการบิน (Aviation) การศึกษา (Education) และการป้องกันภัยพิบัติ (Disaster prevention) ข้อมูลที่ได้รับสามารถนำมาใช้สำหรับงานวิจัยและการสาธิตต่าง ๆ ระบบ Weathersensor 200 ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการรับข้อมูลของสภาพภูมิอากาศ ล่าสุด ณ เวลา และบริเวณที่ต้องการ

ดาวเทียม NOAA

ดาวเทียม NOAA (National Oceanographic and Atmospheric Administration) โคจรที่ระดับความสูงประมาณ 850 กม. ในวงโคจรแบบ สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ทำการถ่ายภาพด้วยระบบ AVHRR (Advanced Very High Resolution Radiometer) ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น 2 ช่วงคลื่น และช่วงคลื่นความร้อน 2 ช่วงคลื่น ได้แก่ 0.55 - 0.90 ไมโครเมตร, 0.725 - 1.0 ไมโครเมตร, 10.5 - 11.5 ไมโครเมตร และ 3.55 - 3.93 ไมโครเมตร นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มช่วงคลื่นความร้อนช่วงที่ 3 เพื่อใช้ในการหาค่าอุณหภูมิพื้นผิว มีรายละเอียดของภาพ 1.1 กม. ในแนวดิ่ง ความกว้างของแนวภาพ 2,800 กม. บันทึกข้อมูลวันละ 2 ครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน นอกจากนี้มีระบบ TOVS (TIROS Operational Vertical Sounder) ใช้ในการคำนวณค่าอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศในแนวดิ่ง แยกได้เป็น 3 ระบบย่อย คือ 1. HIRS/2 ( High Resolution Infrared Radiometer ) 2. SSU ( Stratospheric Sounding Unit) 3. MSU ( Microwave Sounding Unit )


ดาวเทียมอินเทลแซต ( Intelsat )

ดาวเทียมอินเทลแซต ( Intelsat ) เป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่นไมโครเวฟ เพื่อการสื่อสารและการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งดำเนินการโดย องค์การดาวเทียมเพื่อการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( International Telecommunication Satellite Consortium ; Intelsat ) องค์การฯ ได้จัดส่งดาวเทียม ชื่อ อินเทลแสต ( Intelsat ) ขึ้นไปสถิตอยู่เหนือพื้นผิวโลกประมาณ 35,800 กิโลเมตร จำนวน 3 ดวง ดังนี้ 1. ดวงที่อยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ทำหน้าที่ติดต่อรับส่งสัญญาณระหว่างทวีปเอเชียกับสหรัฐอเมริกา 2. ดวงที่อยู่เหนือมหาสมุทรอินเดีย ทำหน้าที่ติดต่อรับส่งสัญญาณระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป 3. ดวงที่อยู่เหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ทำหน้าที่ติดต่อรับส่งสัญญาณระหว่างทวีปยุโรปกับสหรัฐอเมริกา สำหรับ ประเทศไทย เป็นสมาชิกขององค์การอินเทลแสต ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา โดยมีสถานีภาคพื้นดินอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศสหภาพโซเวียตรัสเซีย และประเทศบริการมีดาวเทียมสื่อสารชื่อ มอลนิยา ( Molniya )

ดาวเทียม SPOT

ดาวเทียม SPOT ของประเทศฝรั่งเศสดวงแรกถูกส่งขึ้นโคจรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2529และดวงที่สองเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งปัจจุบันกำลังปฏิบัติงานอยู่ ส่วนดวงที่สามส่งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2536 ระบบบันทึกภาพของดาวเทียม SPOT เป็นกล้อง HRV ( high resolution visible ) สองตัว ซึ่งสามารถปรับมุมมองให้ถ่ายภาพคู่สเตริโอและภาพเฉียงได้
วงโคจร
โคจรสูง 830 กิโลเมตร เอียง 98.7 องศาโคจรผ่านเส้นศูนย์สูตร เวลา 10:30 น.โคจรกลับมาที่เดิมในเวลา 26 วัน หรือ 4-5 วัน ถ้าถ่ายภาพในแนวเฉียง
เครื่องวัด
ระบบ HRV ไม่ใช่เครื่องวัดแบบกลเชิงแสง แต่เป็นกล้องถ่ายภาพซีซีดีเชิงเส้น ( linear CCD) ที่มีระบบกวาดภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ กล้อง HRV เปลี่ยนมุมมองสูงสุด บวก-ลบ 27 องศา โดยการเปลี่ยนมุมมองของกระจก ทำให้กล้องสามารถมงอมายังตำแหน่งเดียวกันได้จากสองวงโคจร แต่ละคู่มุมมองทำให้ได้ภาพคู่สเตริโอ
ข้อมูล
ภาพจากกล้อง HRV ในแนวดิ่งล่างครอบคลุมพื้นที่ 60 กิโลเมตร x 60 กิโลเมตร ในขณะที่ภาพเฉียงที่มุมมองสูงสุด บวก-ลบ 27 องศา ครอบคลุมพื้นที่ 81 กิโลเมตร x 81 กิโลเมตร ภาพแต่ละภาพจึงมีรหัสกำหนดด้วยหมายเลขแนว K และแถว J ตามระบบอ้างอิงกริดของ SPOT ( grid reference system – GRS ) ภาพที่มองในแนวดิ่งล่างจะมีจุดศูนย์กลางกำหนดด้วย K ที่เป็นเลขคี่สำหรับกล้อง HRV ตัวแรก ส่วนภาพถ่ายในแนวเฉียง จุดที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางที่สุดจะถือเป็นจุดศูนย็กลางภาพ
การใช้ประโยชน์ข้อมูล
ข้อมูลจากดาวเทียม SPOT รับได้ที่สถานีภาคพื้นดิน 14 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพื้นแผ่นดิน และการทำแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 และมาตราส่วนที่เล็กกว่า

วันเสาร์, พฤศจิกายน ๑๗, ๒๕๕๐

งาน คำศัพท์ IT 15 คำ

1. AGP (Accelerated Graphic Ports)
เป็นข้อกำหนดของอินเตอร์เฟซ บนแฟลตฟอร์ม ของบัส ซึ่งมีสมรรถนะทางด้านกราฟฟิกสูง เพื่อทำให้สามารถแสดงภาพกราฟฟิก 3 มิติ ได้รวดเร็วบน เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น ภาพจาก Web Site หรือ ซีดี-รอม ทำให้ การแสดงภาพบนจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เร็วและเรียบกว่า

2. Application program interface (API)
เป็นการระบุวิธีการที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ โดยผู้เขียนโปรแกรมใช้การเขียนโปรแกรมประยุกต์ในการขอกับระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ

3. Basic Input/Output System (BIOS)
เป็นโปรแกรมที่ไมโครโพรเซสเซอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ใช้ในการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานเพื่อเปิดเครื่อง และทำหน้าที่บริหารการไหลของข้อมูล ระหว่างระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ เช่น ฮาร์ดดิสก์ คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องพิมพ์เป็นต้น

4. A+ (A-plus)
เป็นชื่อของกระบวนการ เพื่อรับรองความรู้และความสามารถในการติดตั้ง บำรุงรักษา และการทำงานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สถาบันที่พัฒนาและรับรองคือ Computing Technology Industry Association (ComTIA) การสอบขอใบรับรองแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นความรู้ ด้านคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ และส่วนที่สองเป็นการเจาะจงความรู้ในระบบปฏิบัติการ เช่น Windows 98

5. Analog-to-Digital Conversion (ADC)
เป็นกระบวนการอีเลคโทรนิคส์ ที่สัญญาแปรผันต่อเนื่อง (analog) ได้รับการแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยไม่มีการลบข้อมูลสำคัญ

6. bridge
ในเครือข่ายโทรคมนาคมbridgeเป็นผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายแบบ LAN ไปยังเครือข่าย LAN อื่น โดยใช้โปรโตคอลเดียวกัน (เช่น Ethernet หรือ Tokenring) สามารถเปรียบ bridge เป็นอุปกรณ์ที่ตัดสินการส่งข่าวสารจากผู้ใช้ไปยังบุคคลอื่นใน LAN ในตึกเดียวกัน หรือบุคคลอื่นในเครือข่ายที่อยู่ในอาคารอื่น โดย bridge ตรวจสอบแต่ละข่าวสารบนเครือข่าย และส่งผ่านไปยังบุคคลที่ทราบในเครือเดียวกัน หรือส่งข้ามไปยังเครือข่ายอื่นที่มีการต่อเชื่อมกันอยู่

7. byte
ระบบคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่ byte (ไบต์) เป็นหน่วยของข้อมูลที่เป็นเลขฐานสอง 8 หลัก โดย byte เป็นหน่วยที่คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใช้แสดงตัวอักษร ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์ต่าง ๆ byte สามารถเก็บข้อความของบิตที่ต้องการใช้ในหน่วยที่ใหญ่ตามวัตถุประสงค์ของโปรแกรมประยุกต์ (เช่นกลุ่มของบิตที่สร้างเป็นภาพสำหรับโปรแกรม เพื่อแสดงภาพหรือข้อความของบิต ซึ่งเป็นภาษาเครื่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์)

8. Gbps
เป็นตัวย่อของพันล้านบิตต่อวินาที และใช้วัด bandwidth ในการส่งข้อมูลดิจิตอลผ่านตัวกลาง เช่น optical fiber ถ้าเป็นตัวกลางและโปรโตคอลที่ช้ากว่า bandwidth อาจจะเป็น Mbps ( ล้านบิต หรือ megabit ต่อวินาที) หรือ Kbps ( พันบิต หรือ kilobit ต่อวินาที)

9. Mbps
เป็นตัวของล้านบิตต่อวินาที หรือ megabit ต่อวินาที และเป็นการวัด bandwidth (การไหลรวมของสารสนเทศในเวลากำหนด) บนตัวกลางโทรคมนาคม ช่วงของ bandwidth ขึ้นกับตัวกลางและวิธีการส่ง ในบางครั้งวัดเป็น Kbps (พันบิต หรือ kilobits ต่อวินาที) จนถึง Gbps (พันล้านบิต หรือ gigabits ต่อวินาที)

10. bus
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครือข่าย (Network) bus เป็นเส้นทางของการส่งผ่านสัญญาณทั้งเข้าและออก จากอุปกรณ์ทุกตัว ที่ต่อเชื่อมกับบัส การส่งผ่านสัญญาณไปที่อุปกรณ์ใดขึ้นกับสัญญาณ ที่เป็นสัญญาณที่มีตำแหน่ง (Address) ของอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ที่มีตำแหน่งอื่น ๆ จะไม่รับสัญญาณนั้น

11. switch
เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้เลือกเส้นทาง หรือวงจรสำหรับการส่งข้อมูล หรือปลายทางต่อไป switch (สวิท์ช) อาจจะรวมการทำงานของ router, อุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่สามารถค้นหาเส้นทาง หรือกำหนดจุดบนเครือข่ายที่ติดต่อกัน เพื่อให้ส่งข้อมูลไป โดยทั่วไป สวิท์ช เป็นกลไกที่ง่าย และเร็วกว่า router ซึ่งต้องการความรู้เกี่ยวกับเครือ และวิธีการหาเส้นทาง

12. C++
เป็นภาษาแบบ object-oriented programming (OOP) ที่ดีที่สุด ในการสร้างโปรแกรมประยุกต์ขนาดใหญ่ และ C++ เป็นภาษา C ระดับสูง

13. Modem (โมเด็ม)
ส่งออกสัญญาณในรูปของคลื่นโดยการแปลงสัญญาณดิจิตัล จากเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดิจิตัล ให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก สำหรับส่งสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์ แบบดั้งเดิม และรับสัญญาณเข้าโดยการแปลงสัญญาณคลื่นแบบอะนาล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล สำหรับอุปกรณ์แบบดิจิตัล

14. digital (ดิจิตอล)
การเป็นการอธิบายเทคโนโลยีอีเล็คโทรนิคส์ที่ใช้สร้าง เก็บ และประมวลข้อมูลในลักษณะ 2 สถานะ คือ บวก (positive) และไม่บวก (non-positive) บวก (positive) แสดงด้วย เลข 1 และไม่บวก (non-positive) แสดงด้วย เลข 0 ดังนั้น ข้อมูลส่งผ่าน หรือเก็บด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล เป็นการแสดงด้วยข้อความของ 0 และ 1 แต่ละค่าของตำแหน่งสถานะเหล่านี้ เป็นการอ้างแบบ binary digital

15. Wi-Fi (ย่อมาจาก "wireless fidelity")
เป็นศัพท์ของประเภทเครือข่ายท้องถิ่นไร้สาย (WLAN) ที่ใช้ข้อกำหนดในตระกูล 802.11 คำศัพท์ Wi-Fi ได้รับการสร้างโดยองค์กรที่เรียกว่า Wi-Fi Alliance ซึ่งควบคุมการทดสอบที่ประกันการปฏิบัติงานผลิตภัณฑ์ภายใน ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบของพันธมิตรจะได้รับป้าย "Wi-Fi certified" (เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน)

แหล่งอ้างอิง http://www.widebase.net/itterm/termindex_0.htm